การประหยัดพลังงานในเครื่องปรับอากาศ Demand Control vs. Efficiency Boost
- Vorapat Polcharoensook
- Sep 6, 2023
- 1 min read
แอร์ หรือ เครื่องปรับอากาศนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่คนในประเทศร้อนอย่างไทยขาดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาค่าไฟที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาของการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก คำถามคือ: "วิธีใดที่เราสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต่าไฟของแอร์ได้ ในขณะที่ยังคงความเย็นสบาย" มีทางเลือกสำคัญสองแนวคิด: คือ การควบคุมการใช้งาน (Demand Control) และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Efficiency Boost) วิธีไหนคือทางที่ดีที่สุด?

การควบคุมการใช้งาน (Demand Control)
เป็นวิธีที่ง่ายและทำได้ทันที หลักการคือ จัดการเวลาและวิธีการทำงานของแอร์ ตัวอย่างเช่น:

เพิ่มอุณหภูมิแอร์: การเพิ่มอุณหภูมิ Set point ในห้องช่วยลดการใช้พลังงานอย่างมาก หลาย องค์กรมีการรณรงค์ให้เปิดแอร์ที่อุณหภูมิที่ 25 องศา เจตนาเพื่อต้องการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
ควบคุมชั่วโมงการเปิดแอร์: ในวันที่อากาศร้อนอบอ้าวเสียขนาดนี้ ปิดแอร์แป๊บเดียวก็กลับมาร้อนเหมือนเดิมแน่ ๆ ดังนั้นคงเป็นไปได้ยากถ้าหากจะให้ควบคุมชั่วโมงเปิดแอร์ตอนกลางวัน ฉะนั้นหากอยากประหยัดค่าไฟแนะนำให้ใช้วิธีนี้ตอนกลางคืน โดยตั้งเวลาปิดแอร์ช่วงตี 2 หรือตี 3 ส่วนก่อนนอนให้เปิดพัดลมทิ้งไว้ด้วย จะได้ไม่ตื่นกลางดึกเพราะต้องลุกขึ้นมาปิดแอร์
ข้อดี:
เห็นผลทันที: การประหยัดพลังงานเกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องทำการปรับเปลี่ยนทางเทคนิค
ไม่ต้องลงทุน: ไม่ต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ประหยัดเงินลงทุน
ข้อเสีย:
กระทบความสะดวกสบาย: บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัวจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น หากความสบายลดลงอาจกระทบต่อ Productivity
ขึ้นอยู่กับบุคคล : วิธีนี้ขึ้นอยู่กับวินัยและความสบายของผู้ใช้งาน
การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Efficiency Boost)
เป็นวิธีทางเทคนิค เป็นเรื่องของการปรับปรุงระบบให้ทำงานได้เต็มประสิทธิ์ภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น:

เพิ่มระบบอินเวอร์เตอร์: ปรับหรือเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ให้เป็นชนิดที่ปรับความเร็วรอบได้ตามความต้องการความเย็น ทำให้มีอุณหภูมิที่ได้สอดคล้องกับความต้องการและการใช้พลังงานน้อยลง
เพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนของแอร์ : เมื่อคอยล์ร้อนของแอร์ระบายความร้อนดีขึ้น พลังงานที่คอมเพรสเซอร์ต้องใช้ก็ลดลง ค่าไฟแอร์ก็ลดลง
ข้อดี:
ความเย็นที่สม่ำเสมอ: แอร์ยังผลิตความเย็นที่เท่าเดิม อุณหภูมิห้องยังเย็นสบายไม่กระทบ Productivity
ประหยัดระยะยาว: แม้ว่าอาจต้องมีการลงทุนตอนแรก แต่จะเกิดการประหยัดพลังงานในระยะยาวที่ไม่ขึ้นกับบุคคล
ข้อเสีย:
ใช้เงินลงทุน: ต้องมีการลงทุนในการอัพเกรดปรับปรุงอุปกรณ์
การบำรุงรักษา: อุปกรณ์อาจต้องการการบำรุงรักษาและตรวจสอบเพิ่มเติม
วิธีไหนดีกว่ากัน?
วิธีที่ดีที่สุดคือ...
เพื่อการลดค่าไฟแอร์และการรักษาสิ่งแวดล้อม ควรใช้วิธีทั้งสองร่วมกัน แต่ต้องมีการตรวจวัดยืนยันผลประหยัดอย่างชัดเจน ควบคุมการใช้งานตามความต้องการในระยะสั้น และพิจารณาการอัพเกรดเครื่องปรับอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว การรวมกันของวิธีทั้งสองนี้จะช่วยให้คุณประหยัดพลังงานและเพิ่มกำไรให้ธุรกิจ
source : https://home.kapook.com/view144161.html
Kommentare